How To Give A PyCon Presentation

คำแนะนำการนำเสนอในงาน PyCon ที่จัดทำขึ้นนี้ได้รับอนุญาต Prof. Michael Ernst โดยคุณสามารถอ่านบทความต้นฉบับได้ที่ https://homes.cs.washington.edu/~mernst/advice/giving-talk.html

บทนำ

มีคำแนะนำดี ๆ มากมาย ที่กล่าวถึงวิธีการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ-หนึ่งในนั้นคือเทคนิคในการนำเสนอไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอในที่ประชุม, การนำเสนองานกลุ่ม, หรือการนำเสนอในฐานะวิทยากรรับเชิญตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปจนถึงการนำเสนองานวิจัย ในบทความนี้อาจจะไม่มีเนื้อหาครอบคลุมการนำเสนอที่ได้กล่าวมาทั้งหมด แต่จะขอกล่าวถึงข้อผิดพลาดสำคัญที่พบเห็นบ่อยในการนำเสนอพอสังเขป

การซ้อมนำเสนอจริงต่อหน้าคนอื่นคือวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะในการนำเสนอของคุณ ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารถสังเกตปฏิกิริยาที่ผู้ฟังมีต่อการนำเสนอของคุณได้ และนอกจากนั้นยังสามารถขอไอเดียและคำแนะนำจากผู้ฟังเหล่านั้นได้อีกด้วย

ลองสังเกตการนำเสนอของคนอื่นที่คุณได้รับฟังในงานที่คุณได้เข้าร่วม (เคยเข้าร่วมเมื่อในอดีต) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการนำเสนอเรานั้นมีความคล้ายกับการนำเสนอของคุณ อะไรบ้างในการนำเสนอของคนอื่นที่ทำให้คุณเบื่อ? อะไรบ้างทำให้คุณรู้สึกสนใจ? อะไรบ้างที่คุณสามารถนำมาใช้กับการนำเสนอของคุณได้? อะไรที่คุณยังสามารถจดจำและนำไปล้างให้คนอื่นได้หลังจากจบการนำเสนอไป 30 นาที

เนื้อหา

ก่อนที่คุณจะเริ่มเตรียมพูดคุณต้องรู้เป้าหมายและรู้จักผู้ฟังของคุณ คุณจะต้องปรับแต่งการนำเสนอของคุณตามวัตถุประสงค์ของสิ่งที่คุณต้องการนำเสนอ คุณจำเป็นต้องวางแผนและเตรียมการการพูดใหม่ แม้ว่าก่อนหน้านี้คุณจะเคยพูดคุยในงานอื่น ๆ มาก่อนก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณได้ทำการเพิ่มเติมงานของคุณในช่วงระหว่างนี้

เป้าหมายของการพูดที่งาน PyCon คือการดึงดูดผู้ชม คุณพบบางสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น หรือ ได้ทำการพัฒนา software ใหม่ๆ และคุณต้องโน้มน้าวผู้ชมด้วย 3 สิ่ง ต่อไปนี้ ได้แก่ ปัญหาของคุณนั้นน่าสนใจ (เป็นปัญหาจริงและวิธีแก้ปัญหามีประโยชน์), ปัญหาของคุณนั้นยาก (ยังแก้ไม่ได้ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่มีอยู่ไม่สมบูรณ์) และคุณได้พบวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีกว่า หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปการพูดของคุณจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้น้อย ดังนั้นอย่าลืมสร้างแรงบันดาลใจในงานของคุณ, ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาและให้รายละเอียดทางเทคนิคที่เพียงพอ

เมื่อคุณต้องการที่จะขึ้นพูดให้ถามตัวเองว่า “อะไรคือประเด็นสำคัญที่ผู้ชมของฉันจะได้รับจากการพูดของฉัน?” จากนั้นให้กำจัดทุกสิ่งที่ไม่สนับสนุนประเด็นเหล่านั้น หากคุณพยายามพูดมากเกินไป ผู้ฟังจะไม่สามารถรับรู้ถึงประเด็นหลักที่คุณต้องการจะสื่อ และทุกคนจะเสียเวลา อย่าพยายามใส่รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับเครื่องมือ / ซอฟต์แวร์ที่คุณกำลังนำเสนอ หลีกเลี่ยงการเขียนโปรแกรมสด / สาธิตสด เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้

วิธีที่ดีในการตัดสินว่าคุณควรพูดอะไรบ้างคือการอธิบายความคิดของคุณด้วยวาจาต่อคนที่ไม่เข้าใจความคิดของคุณ ทำสิ่งนี้ก่อนที่คุณจะพยายามสร้างสไลด์ (คุณอาจใช้ไวท์บอร์ดเปล่า แต่โดยส่วนมากจะไม่จำเป็น) คุณอาจต้องทำสิ่งนี้สองสามครั้งก่อนที่คุณจะพบวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอเนื้อหาของคุณ สังเกตสิ่งที่คุณทำและลำดับของสิ่งที่คุณทำ และเรียงเรียงคำพูดของคุณให้สอดคล้องกับสองสิ่งข้างต้นมากที่สุด สไลด์ไม่ควรเป็นสิ่งที่คอยกีดขวางการพูดของคุณ แต่ควรสนับสนุนการพูดของคุณ

อย่าพยายามใส่เนื้อหามากเกินไปในการพูดคุย ประมาณหนึ่งสไลด์ต่อนาทีนั้นกำลังดี (หากสไลด์จำนวนมากของคุณเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ใช้เวลาเพียงชั่วครู่ในการนำเสนอคุณจะสามารถใส่สไลด์ได้มากขึ้น) จำสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของคุณและมุ่งเน้นไปที่สิ่งเหล่านั้น อย่านำเสนอข้อมูลมากกว่าที่ผู้ชมจะเข้าใจ ตัวอย่างก็คือ บ่อยครั้งที่คำอธิบายสั้นๆที่ออกมาจากสัญชาตญาณนั้นมีค่ามากกว่ารายละเอียดที่เต็มไปด้วยเนื้อหาอย่างละเอียด หากคุณพยายามที่จะอธิบายรายละเอียดทั้งหมดในการพูดของคุณ คุณจะรีบเร่ง และส่งผลให้ผู้ฟังอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูดเลย ควรคิดว่าการพูดคุยเป็นโฆษณาสำหรับซอฟต์แวร์ที่ให้ความคิดที่สำคัญ, สัญชาตญาณและผลลัพธ์ ที่จะทำให้ผู้ชมกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ software/library ของคุณ หรือต้องการที่จะพูดคุยกับคุณเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม นั่นไม่ได้หมายถึงการละเว้นรายละเอียดที่สำคัญ - เพียงละเว้นสิ่งที่สำคัญน้อยกว่า นอกจากนี้คุณอาจจะละเว้นส่วนที่ไม่ทำให้ประเด็นหลักที่คุณต้องการสื่อมีน้ำหนักมากขึ้นทั้งหมดได้ด้วย

ในสไลด์นำเสนอของคุณ ควรจะต้องไม่มีสไลด์ที่ขาดหายไป เช่นเดียวกันกับการที่ไม่ควรมีสไลด์เพิ่มเติม ตามกฎแล้วคุณไม่ควรพูดเกินกว่าหนึ่งนาทีโดยไม่ให้ข้อมูลใหม่ หากคุณมีจุดสำคัญในการสร้างให้มีสไลด์เพื่อรองรับ (มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถดึงดูดผู้ชมในหัวข้อทางเทคนิคและทำให้ผู้ชมมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในประเด็นสำคัญโดยไม่มีอุปกรณ์ประกอบฉากทางสายตา (Visual props) แต่น่าเสียดายที่คุณอาจไม่ใช่หนึ่งในพวกเขา) ตัวอย่างที่สำคัญหนึ่งคือ อย่ากล่าวถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User interface, UI) โดยไม่แสดงรูปภาพของมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือคุณไม่ควรแสดงสไลด์หัวเรื่องเป็นเวลานานเกินไป แต่ควรแสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่คุณกำลังพูดถึงเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับงานที่คุณได้ทำ

สไลด์

ชื่อสไลด์

ใช้ชื่อสไลด์ของคุณในการอธิบาย ระวังอย่าตั้งชื่อสไลด์ซ้ำกับสไลด์อื่น ๆ ของคุณ ยกเว้นสไลด์ถัดไปเป็นบิวด์สไลด์ (คุณสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับบิวด์สไลด์ได้ในหัวข้อ “บิวด์สไลด์”) เลือกคำอธิบายที่สามารถช่วยให้ผู้ฟังประทับใจและรู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับสไลด์นี้ หากคุณนึกไม่ออกว่าควรจะทำอย่างไร นั่นหมายความว่าคุณอาจจะยังไม่เข้าใจและเรียบเรียงสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอได้ดีเพียงพอ

บทนำ

เริ่มต้นการนำเสนอของคุณด้วยการเล่าถึงแรงบันดาลใจและแรงผลักดันที่คุณมี และปล่อยมันให้พรั่งพรูออกมากเท่าที่มันจะมากได้ ตลอดทั้งการบรรยายตั้งแต่ต้นจนจบ คุณจะต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกคุ้มค่าที่จะตั้งใจรับฟังการนำเสนอของคุณ แสดงให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอสามารถแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ที่ทุกคนมีได้ สไลด์แรกของคุณควรจะบอกปัญหาที่คุณต้องการจะแก้ และการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้ฟังทุกคนเห็นภาพ

สไลด์โครงร่าง

อย่าเริ่มต้นการนำเสนอของคุณด้วยสไลด์โครงร่าง (มันน่าเบื่อและเร็วเกินไปที่จะพยายาม ให้ผู้ฟังของคุณเข้าใจโครงสร้างการนำเสนอของคุณทั้งหมด) สไลด์โครงร่างจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ นำไปใช้กับการบรรยายที่ต้องใช้เวลาเกินกว่า 30 นาที เพราะนั่นจะช่วยให้ผู้ฟังของคุณได้เข้าใจว่าพวกเขากำลังจะต้องเจอกับอะไรบ้างและสามารถตามเรื่องราวที่คุณกำลังบรรยายได้ทัน และใช้สไลด์โครงร่างทุกครั้งเมื่อคุณกำลังขึ้นหัวข้อใหญ่ ๆ หัวข้อใหม่ แทนที่จะขึ้นหัวข้อใหม่ด้วยบทนำหรือแรงบันดาลใจ

การสรุป

สไลด์สุดท้ายของการนำเสนอควรเป็น สไลด์ที่สรุปเรื่องราวทั้งหมด เพื่อย้ำเตือนสิ่งที่คุณอยากให้ผู้ฟังจดจำและนำกลับไปใช้ได้ สไลด์สุดท้ายของคุณไม่ควรจบด้วยการประชาสัมพันธ์งานถัดไป, ถามคำถาม, ขอบคุณ, หรือใส่ข้อความมาลอย ๆ ว่าจบแล้ว หรือแค่ใส่อีเมลล์ไว้เฉย ๆ สิ่งที่คุณควรใส่คือข้อความ สุดท้ายที่คุณอยากให้ผู้ฟังของคุณได้เห็น

บิวด์สไลด์

บิวด์สไลด์คือสไลด์ที่นำเอาสไลด์ก่อนหน้ามาปรับเปลี่ยนเพิ่มองค์กอบเพียงบางอย่างเข้าไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสไลด์ โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งหมดจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบสิ่งนี้คือการเปลี่ยนไปมาระหว่างสองสไลด์อย่างรวดเร็วหลาย ๆ ครั้ง หากคุณรู้สึกแปลก ๆ นั่นหมายความว่ามันอาจจะทำได้ไม่ชัดเจนพอ และคุณอาจจะต้องแก้ไขมัน คุณอาจต้องเว้นที่เหลือไว้ในสไลด์แรกเพื่อรองรับข้อความหรือตัวเลขที่จะแทรกในภายหลัง แม้ว่าพื้นที่นั้นอาจดูไม่เป็นธรรมชาติ แต่ก็ดีกว่าทางเลือกอื่น หากผู้ฟังรู้สึกแปลก ๆ แสดงว่าเค้ารู้สึกได้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในสไลด์ของคุณ เพียงแต่มันยังไม่ชัดเจนพอที่พวกเขาจะสามารถบอกได้ว่ามันอยู่ตรงไหนของสไลด์ (ตามนุษย์ดีต่อการตรวจจับการเปลี่ยนแปลง แต่จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ และเปลี่ยนอย่างราบลื่น) คุณต้องการให้ผู้ชมมีความมั่นใจว่าส่วนใหญ่ของสไลด์ไม่เปลี่ยนแปลงและวิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพในการทำเช่นนั้นคือไม่เปลี่ยนส่วนเหล่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นคุณก็ควรความมั่นใจให้ผู้ฟังรู้ว่าอะไรเปลี่ยนแปลงไป (ด้วยการพูด ใช้สี หรือไฮไลต์) ว่าอะไรถูกเพิ่มลงในแต่ละสไลด์

อย่าทำให้สไลด์รก

อย่าใส่ข้อความ (หรืออะไรก็ตาม) มากเกินไปลงในสไลด์ เมื่อสไลด์ใหม่ถูกเปิดขึ้นมา ผู้ฟังจะพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาภายในสไลด์ ถ้าเนื้อหามีมากเกินไปพวกเขาจะเลิกสนใจคุณ และนั่นอาจทำให้ผู้ฟังพลาดสิ่งที่สำคัญที่คุณพยายามจะสื่อไป นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรจะทำให้แผนภาพต่าง ๆ ในสไลด์มีความชัดเจน และข้อความที่ใส่ไปก็ควรจะมีความกระชับ หลักการง่าย ๆ เลยคือ คุณไม่ควรใส่ bullet point เกินสามข้อและข้อความเต็มบรรทัดก็ไม่ควรมีเกิน 2 บรรทัด ทำมันให้สั้นเข้าไว้ หรือแบ่งมันออกเป็นส่วยย่อย ๆ (หรือเรียกอีกอย่างว่า sub bullet points) ด้วยวิธีนี้ผู้ฟังของคุณจะสามารถเข้าใจเนื้อหาของคุณได้อย่างรวดเร็ว และไม่ทำให้พวกเขาเบื่อคุณได้ง่ายจนเกินไป

การนำเสนอข้อมูลในสไลด์

อย่าอ่านสไลด์ของคุณคำต่อคำ เพราะมันน่าเบื่อมากและนั่นจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ฟังของคุณหมดความสนใจจากการนำเสนอของคุณไป และรับลองได้เลยว่าการอ่านของคุณจะเร็วไปสำหรับผู้ฟังบางคน และทำนองเดียวกันก็ช้าเกินไปสำบางคนด้วย ซึ่งนั่นอาจจะทำให้พวกเขารำคาญมาก ถ้าคุณพบว่าตัวคุณเองกำลังอ่านสไลด์อยู่ในขณะที่คุณกำลังนำเสนอ นั่นหมายความว่าบางทีสไลด์ของคุณอาจจะมีข้อความมากจนเกินไป สไลด์ของคุณควรเป็นเนื้อหาคร่าว ๆ ไม่ใช่บทความ สไลด์ของคุณควรมีแค่ใจความสำคัญ หากคุณต้องการนำเสนอรายละเอียด คุณสามารถทำได้ทางวาจา มันโอเคถ้าคุณจะใช้สไลด์เป็นตัวช่วยที่จำทำให้คุณจำหัวข้อที่คุณกำลังจะนำเสนอให้ผู้ฟังได้ อย่างไรก็ตามคุณก็ควรซักซ้อมการนำเสนอให้มาก ๆ เพื่อที่จะได้สามารถจดจำเนื้อหาตรงส่วนของรายละเอียดได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นคุณไม่ควรข้อความของคุณคำต่อคำ ในทำนองเดียวกันคุณก็ไม่ควรอ่านแผนภาพของคุณคำต่อคำเช่นกัน เมื่อคุณต้องอธิบายให้คนอื่นฟังถึงโครงสร้างของระบบอะไรสักอย่าง คุณไม่ควรแค่บอกว่าในโครงสร้างนั้นมีอะไรบ้าง หรือบอกเพียงแค่คร่าว ๆ ว่าส่วนประกอบเหล่านั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง แทนที่จะทำอย่างนั้นคุณควรอธิบายว่าในโครงสร้างนั้นมันมีอะไรสำคัญ น่าสนใจ หรือแปลกใหม่บ้าง หรืออธิบายว่าแต่ล่ะส่วนทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ผู้ใช้งานต้องการได้ หรือให้ข้อมูลเชิงลึกอะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจถึงระบบได้มากขึ้นแทนที่จะพูดถึงมันอย่างคร่าว ๆ

(มันเป็นไปได้ที่สไลด์แค่หนึ่งหน้าจะสามารถบรรจุข้อมูลที่สำคัญจริง ๆ เข้าไปได้ ซึ่งแน่นอนคุณต้องการข้อมูลจำมากเท่าที่จะมากได้เพื่อช่วยคุณในกรณีที่มีคนถามคำถาม แต่สิ่งที่คนมักจะพลาดกันคือใส่ข้อมูลมากจนสไลด์ดูแปลก)

ข้อความ

ขนาดของตัวอักษรบนสไลด์ของคุณควรจะมีขนาดที่ใหญ่พอจนมั่นใจว่าทุกคนตั้งแต่หน้าห้องจนถึงหลังห้องเห็น ใส่ข้อความเท่าที่ผู้ฟังจำเป็นต้องอ่าน ถ้ามันไม่จำเป็นคุณก็ไม่จำเป็นต้องเอามาใส่ในสไลด์

ใช้ฟอนต์ชื่อ sans-serif ในการทำสไลด์ (Serifed เป็นฟอนต์ที่ใช้ดีที่สุดกับข้อความที่อ่านบทกระดาษ แต่ sans-serif เป็นฟอนต์ที่ใช้ดีที่สุดกับการอ่านข้อความบนจอ) “Courier New” ของฟาวเวอร์พอยต์เป็นฟอนต์ที่มีนำหนักบางมาก (ขนาดเส้นของมันเล็กมาก) ถ้าคุณคิดจะใช้มัน ให้แน่ใจทุกครั้งที่ใช้ได้ตั้งค่าให้มันเป็นตัวหนาแล้ว และใช้สีหรือการขีดเส้นใต้เน้นทุกข้อความที่คุณคิดว่าจำเป็นเพื่อเน้นความเข้าใจ

เมื่อคุณต้องการที่จะแสดงตัวอย่างโค้ดของคุณตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวอักษรใหญ่พอที่จะอ่านได้ และใส่มาแต่ส่วนที่จำเป็นเท่านั้น

การทำให้ผู้ฟังเห็นภาพ

ใช้ประโยชน์จากตัวเลขอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการนำเสนอที่เป็นเพียงข้อความ การนำเสนอแบบนี้พลาดโอกาสสำคัญในการถ่ายทอดข้อมูล มันยังทำให้ผู้ชมรู้สึกเหนื่อยอีกด้วย

รูปภาพและแผนภูมิมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้าใจให้ผู้ฟังของคุณ รวมถึงแฟนภาพเพื่อแสดงว่าระบบของคุณทำงานหรือประสานงานกันอย่างไร อย่าใช้ภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ภาพตัดปะ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเนื้อหาของคุณ ตัวอย่างเช่นหากคุณมีภาพนิ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่าใช้ภาพของกุญแจ อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น เมื่ออธิบายถึงปัญหาที่คุณต้องการจะแก้ไขอย่าใช้ภาพของบุคคลที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ดูหงุดหงิด พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าการใช้รูปภาพดี ๆ บวกกับข้อความ ดีกว่าการมีแต่ข้อความอย่างเดียว แต่การมีความข้ออย่างเดียวก็ยังดีกว่าการใช้รูปภาพแย่ ๆ ในการนำเสนอ

เมื่อคุณใส่แผนภาพหรือรูปร่างอะไรก็ตามบนสไลด์ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นหลังนั้นมีสีเดียวกับของสไลด์ ตัวอย่างเช่นหากสไลด์ของคุณมีพื้นหลังสีดำอย่าวางในแผนภาพที่มีพื้นหลังสีขาว มันทำให้เสียสมาธิการมองเห็น ยากต่อการอ่านและไม่ดึงดูดใจ คุณควรแก้สีพื้นหลังของแผนภาพเพื่อให้ตรงกับสไลด์ (หรืออาจต้องวาดแผนภาพใหม่) หรือเปลี่ยนพื้นหลังสไลด์ (เช่นใช้พื้นหลังสไลด์สีขาว) เพื่อจับคู่กับแผนภาพนั้น

ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ลูกเล่นในสไลด์อย่างเช่น เอฟเฟคเปลี่ยนสไลด์ องค์ประกอบการออกแบบที่ปรากฏอยู่บนทุกหน้าของสไลด์ หรือการใช้สีพื้นหลังหลาย ๆ สี ในกรณีที่ดีที่สุดนั่นจะทำให้ผู้ฟังหันเหความสนใจของผู้ชมจากเนื้อหาที่คุณกำลังนำเสนอ แต่ในกรณีที่แย่ที่สุด คุณจะทำให้ผู้ฟังเลิกสนใจเนื้อการที่คุณจะพูดแล้วสนใจกับเอฟเฟคอันตระการตาของคุณแทน คุณทำให้สไลด์ของคุณน่าดึงดูดและน่าสนใจได้โดยไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรมากมาย เพียงแค่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์ประกอบแต่ละส่วนบนสไลด์นำไปสู่ข้อความที่คุณกำลังต้องการจะสื่อ หากไม่เป็นเช่นนั้นให้ลบออก

การนำเสนอ

ในการพูดคุณจะต้องสบตากับผู้ชม วิธีนี้จะช่วยดึงดูดผู้ฟังและช่วยให้คุณรู้ว่าคุณพูดเร็วเกินไปหรือช้าเกินไปหรือไม่ถูกต้อง อย่ามองหน้าจอเพราะจะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจสื่งที่คุณกำลังพูด และยังทำให้คุณพลาดการตอบสนองต่อสิ่งที่คุณพูดด้วยภาษากายของผู้ฟังและอาจทำให้ผู้ฟังเกิดปัญหาในการได้ยิน / ทำความเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังพูด และอย่ามองที่คอมพิวเตอร์ของคุณซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน

อย่ายืนที่ด้านหน้าของจอ เพราะอาจจะบังจอและทำให้ผู้ฟังไม่สามารถเห็นสไลด์ของคุณ

การทำท่าทางระหว่างการพูดเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าเดินไปเดินมาเพราะมันเป็นการรบกวนความสนใจของผู้ฟัง และมันทำให้คุณดูไม่เป็นมืออาชีพและกำลังสับสนอยู่

ในขณะที่กำลังนำเสนออยู่อย่าชี้ไปที่หน้าจอแล็ปท็อปของคุณซึ่งผู้ชมมองไม่เห็น เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ฉันเห็นคนจำนวนมากทำเช่นนี้! การใช้ตัวชี้เลเซอร์ (Laser pointer) นั้นใช้ได้ แต่ตัวชี้เลเซอร์นั้นมีแนวโน้มที่จะสั่นโดยเฉพาะถ้าคุณกังวลและอาจทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิได้ ฉันชอบที่จะใช้มือเพราะจะทำให้การพูดนั้นมีพลังมากขึ้นถ้าฉันเดินไปที่หน้าจอและใช้แขนของฉันในการชี้ การชี้จะทำให้ผู้ชมไม่พลาดสิ่งที่คุณต้องการนำเสนอ ในการชี้คุณต้องสัมผัสหน้าจอหรืออยู่ในระยะหนึ่งนิ้วจากหน้าจอ หากคุณไม่ได้สัมผัสหน้าจอคนส่วนใหญ่จะมองเงาของนิ้วของคุณซึ่งอาจจะไม่ใช่ส่วนที่คุณต้องการเน้นในสไลด์ หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการวิตกกังวลเช่นการพูดว่า "อืม" ในระหว่างที่คุณกำลังพูดแต่ละประโยค ให้ฝึกฝนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะฝึกฝนต่อหน้าผู้ชมที่คุณไม่รู้จักดี

หากคุณรู้สึกสับสนจงอย่าตื่นตระหนก วิธีหนึ่งคือหยุดและจัดกลุ่มความคิดใหม่ การดื่มน้ำเป็นวิธีที่ดีในการช่วยเยียวยาอาการนี้ ดังนั้นคุณควรดื่มน้ำถึงแม้ว่าคุณจะยังไม่รู้สึกหิวน้ำ อีกวิธีหนึ่งคือเพียงข้ามหัวข้อนั้น ผู้ชมไม่น่าจะรู้ว่าคุณข้ามหัวข้ออะไรไป

PyCon conference ไม่มีการกำหนดว่าคุณต้องใส่ชุดอะไรในงาน เพียงแค่แน่ใจว่าชุดของคุณไม่มีเครื่องหมายใดๆที่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของเรา (Our Code of Conduct) สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณรู้สึกสะดวกสบายเมื่อใส่ชุดของคุณ หากชุดที่คุณใส่ทำให้คุณรู้สึกอึดอัดไม่สะดวกสบาย จะทำให้การนำเสนอแย่ลง

การตอบคำถาม

การตอบคำถามจากผู้ชมนั้นยากมาก! แม้ว่าคุณจะมีความเชี่ยวชาญในการพูดมาก แต่ก็อาจจะยังใช้เวลานานในการทำให้คุณสามารถตอบคำถามได้เป็นอย่างดี ดังนั้นอย่ารู้สึกแย่ถ้าคุณยังไม่สามารถตอบคำถามได้ดี จงคอยหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ

การฝึกพูดและฝึกตอบคำถาม - ทั้งคำถามที่คุณสามารถคาดเดาคำตอบและคำถามที่คุณคาดเดาคำตอบไม่ได้ ถ้าหากคุณฝึกพูดกับคนที่ยินดีจะถามคำถามเหล่านั้นคุณจะได้รับประโยชน์มาก

เมื่อมีผู้ฟังถามคำถามมา มันเป็นเรื่องที่ดีที่คุณจะทวนคำถาม และถามผู้ที่ถามคุณว่าคุณเข้าใจคำถามที่ผมทวนหรือเปล่า ก่อนที่จะตอบคำถาม การทำเช่นนี้มีประโยชน์ 3 ข้อได้แก่

สามารถรับรองได้ว่าคุณเข้าใจคำถาม เมื่อคุณกำลังคิดภายใต้แรงกดดัน มันเป็นเรื่องง่ายที่คุณอาจจะนำข้อสรุปมาตอบคำถาม และมันเป็นเรื่องแย่ที่คุณตอบไม่ตรงคำถาม

ประโยชน์อีกข้อหนึ่งก็คือคุณจะสามารถคิดคำของคุณและตอบคำถามในมุมมองของคุณ คุณควรใช้เวลาสักครู่เพื่อคิดเกี่ยวกับคำตอบของคุณ

และสามารถที่จะทำให้ผู้ฟังได้ยินคำถามอย่างทั่วถึง หากผู้ฟังไม่มีไมโครโฟน ผู้ฟังที่เหลืออาจไม่สามารถได้ยินคำถามได้อย่างชัดเจน

หากคุณไม่รู้คำตอบคุณควรจะกล้าที่จะตอบว่า “ไม่” หรือ “ฉันไม่รู้” คุณจะมีปัญหามากขึ้นถ้าคุณพยายามที่จะพูดปดหรือคิดคำตอบทันที

การฝึกซ้อมสำหรับการนำเสนอ

จงหมั่นฝึกซ้อมการนำเสนอก่อนจะต้องไปพูดต่อหน้าผู้ฟังของคุณจริง ๆ ถึงแม้ว่าคุณจะอ่านสไลด์จนครบแล้วคิดว่าตัวเองรู้แล้วว่าจะต้องนำเสนออย่างไร เพราะเมื่อถึงเวลาที่คุณจะต้องพูดจริง ๆแล้ว สิ่งที่คุณนำเสนอออกมาก็มักจะไม่ค่อยตรงอย่างที่คิดไว้ซะทีเดียว (เช่นเดียวกับการเขียน แม้ว่าคุณจะรู้อยู่แล้วว่ากำลังจะเขียนอะไรอย่างไรก็ตามมันจะต้องมีการแก้ไขอีกหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด) ทางที่ดีคุณควรเริ่มการฝึกซ้อมแต่การฝึกพูดกับตัวเองหน้ากระจก ทบทวนสิ่งที่ตัวเองกำลังจะพูดในการเปล่งเสียงออกมาทีละคำอย่างตั้งใจ ทุก ๆ ถ้อยคำ

เป็นความคิดที่ดีถ้าคุณคิดจะฝึกซ้อมการนำเสนอของคุณกับกลุ่มคนที่มีจำนวนไม่มากจนเกินไป ทางที่ดีไม่ควรมากเกินไปกว่า 10 คน เพราะหากมีจำนวนมากจนเกินไปผู้คนทำให้ค่อยกาให้คำแนะนำมากนัก แต่หาคนมีกลุ่มผู้ฟังที่อยากจะช่วยคุณมากเกินกว่า 10 คน คุณสามารถทำได้โดยการแบ่งการนำเสนอเป็นหลาย ๆ รอบ สิ่งที่คุณควรรู้ไว้ก็คือผู้ฟัง ที่ได้ฟังการนำเสนอของคนเป็นครั้งแรกจะเป็นผู้ฟังที่สามารถให้คำแนะนำได้ดีที่สุด การฝึกซ้อมการนำเสนอหลายหลายรอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากกับการเตรียมตัวการนำเสนอสำคัญสำคัญเช่นการนำเสนอในที่ประชุมหรือการสัมภาษณ์ หลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมกับกลุ่มคนที่คุณไม่ไว้ใจ ผู้ที่อาจจะเห็นด้วยกับคุณไปทุกอย่างหรือคนที่ให้ความเห็นผิด ๆ การได้ความคิดเห็นในทิศทางที่สมดุลกันจะช่วยลดความผิดพลาดจากความคิดเห็นที่เอนเอียงไปแบบใดแบบหนึ่ง

อัดวิดีโอการฝึกซ้อมของคุณต่อหน้าคนอื่น และพิจารณาดูว่าคุณเป็นอย่างไรไม่ต้องเหลือต่อหน้าผู้ฟังของคุณ มันอาจทำให้คุณเจ็บปวดเล็กน้อยแต่มาเส้นทางที่ดีที่จะพัฒนาทักษะการนำเสนอของคุณได้

เตรียมสไลด์สำหรับการซ้อมที่มีเลขหน้าอยู่ตรงมุมสไลด์ไว้เสมอ ถึงแม้ว่าการนำเสนอจริงคุณจะไม่อยากมีมันไว้ก็ตาม

เมื่อคุณจะทำการซ้อมมันจะเป็นประโยชน์มาก ๆ ถ้าคุณจะพิมพ์สไลด์ของคนแจกจ่ายให้กับผู้ฟัง (อย่าลืมใส่เลขหน้าลงไปด้วย) เพื่อให้พวกเขาสามารถตัดคำแนะนำดีดีลงไปและสามารถคืนกลับไปให้คุณ หลังจบการนำเสนอได้ (เนื่องจากผู้ฟังไม่ต้องเสียเวลาเพ่งดูจอว่าบนสไลด์ของคุณมีอะไรอยู่บนนั้นบ้าง ทำให้พวกเขามีเวลาเขียน คำแนะนำมากขึ้นและสามารถจดจ่ออยู่กับการนำเสนอของคุณ ได้มากขึ้น) แต่สำหรับการนำเสนอจริงคุณไม่ควรพิมพ์สไลด์แจกให้ผู้ฟังเพราะคุณคงไม่อยากให้พวกเขาสนใจกระดาษที่พวกเขามีมากกว่าตัวของคุณเอง

เข้าร่วมการฝึกซ้อมของผู้อื่น มันเป็นสิ่งที่คนที่ดีและได้รับการปลูกฝังทำกัน และด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณเองก็จะมีคนมาช่วยฟังเมื่อถึงคราวที่คุณต้องการเหมือนกัน นอกเหนือจากนั้นการเข้าร่วมการฝึกซ้อมของคนอื่นยังทำให้คุณได้เรียนรู้อีกว่าการนำเสนอที่ดีหรือไม่ดีเป็นแบบไหน โดยการสังเกตผู้บรรยายและคิดหาวิธีทำให้การนำเสนอครั้งนี้ดี กว่าเดิมได้อย่างไร (หรือมันดีอยู่แล้วอย่างไร) และ จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของ คุณเองกับผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ คุณสามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับอย่างอื่นได้ไม่ใช่แค่กับการนำเสนอเท่านั้น สิ่งที่คุณควรทำอยู่ตลอดเวลาก็คือการครุ่นคิดอยู่กับตัวเอง และให้คะแนนสิ่งที่คุณทำ